เสวนาโครงการ “ หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน ”
ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ สถาบันพระปกเกล้าได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯ
มาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ นอกจากนี้สถาบันฯ
ยังได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารอนุรักษ์ ๓ ชั้น ซึ่งเป็นที่ทำการของกรม
จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันฯ
ได้ดำเนินการปรับปรุงตกแต่งอาคารแล้วเสร็จในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สถาบันฯ
ได้ดำเนินการปรับปรุงอาคาร ๖ ชั้น
ภายในพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปรับปรุงตกแต่งอาคารใกล้แล้วเสร็จ คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ฯ
ได้หารือเรื่องชื่ออาคารและพิธีเปิดอาคารเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ดังนั้น สถาบันฯจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอัญเชิญพระนามาภิไธย
“รำไพพรรณี” เป็นชื่ออาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อคู่กับอาคารพิพิธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ใช้ชื่ออาคารที่ปรับปรุงใหม่ว่า
“อาคารรำไพพรรณี”
พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์นำมาจัดแสดงและเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี
พ.ศ. 2523 ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน
พ.ศ. 2544 สถาบันพระปกเกล้าได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯ
และได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารที่ตั้งในปัจจุบัน
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 12.30-16.30 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดงานเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" โดยวิทยากร คือคุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล และ คุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่า
รศ.ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล ( ประธานเปิดงาน) |
คุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ |
คุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี |
ภาพการแสดงดนตรีจากอาจารย์สาโรจน์
อาสาสมัครพิพิธภัณฑ์ที่ให้เกียรติมาบรรยายเกี่ยวกับประวัติเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่
7
สิ่งที่ได้รับจากการไปร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ ทำให้เราเห็นบทบาทของสตรีไทยในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตความเป็นอยู่
จากอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างไร
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันผู้หญิงก็สามมารถมีบทบาท สิทธิ
หน้าที่ความรับผิดชอบไม่ต่างจากผู้ชาย ดังนั้นเราควรหันมาให้ความสำคัญกับผู้หญิงในด้านของความเสมอภาค
เราไม่ควรนำสภาวะเพศมาจำกัดหรือเป็นเครื่องมือวัดความรู้ความสามารถของคนในสังคมได้
สิ่งที่เราควรทำที่สุดคือ “การให้โอกาส”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น