วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับมารยาททางสังคม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมารยาททางสังคม





มารยาท หรือ มรรยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาละเทศะ ส่วนคำว่า มารยาทในสังคม จะหมายถึง กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติหรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก โดยเหตุที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ลำพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีกฎกติกากำหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกชาติทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่เรียกกันว่า มารยาททางสังคมนี้ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันบ้าง อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน อาจทำให้คนสมัยนี้หันไปพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง อันเป็นเหตุให้ละเลยหรือเพิกเฉยต่อมารยาทที่พึงมีต่อกัน แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ยังจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในทุกสังคม ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำสิ่งละอันพันละน้อยเกี่ยวกับมารยาททางสังคมมาเสนอ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ และประโยชน์ในทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

- การกล่าวคำว่า “ ขอบคุณ ” เมื่อผู้อื่นให้สิ่งของ /บริการ หรือเอื้อเฟื้อทำสิ่งต่างๆให้ไม่ว่าจะโดยหน้าที่ของเขาหรือไม่ก็ตาม เช่น บริกรเปิดประตูให้ คนลุกให้นั่งหรือช่วยถือของให้เราในรถประจำทาง คนช่วยกดลิฟท์รอเรา หรือช่วยหยิบของที่เราหยิบไม่ถึงให้ เป็นต้น โดยปกติจะใช้คำว่า “ ขอบคุณ ” กับผู้ที่อาวุโสกว่า และใช้คำว่า “ ขอบใจ ” กับผู้อายุน้อยกว่าเรา แต่ปัจจุบันมักใช้รวมๆกันไป

- เอ่ยคำว่า “ ขอโทษ ” เมื่อต้องรบกวน /ขัดจังหวะผู้อื่น เช่น เขากำลังพูดกันอยู่ และต้องการถามธุระด่วน ก็กล่าวขอโทษผู้ร่วมสนทนาอีกคน แต่ควรเป็นเรื่องด่วนจริงๆ หรือกล่าวเมื่อทำผิดพลาด /ทำผิด หรือทำสิ่งใดไม่ถูก ไม่เหมาะสมโดยไม่ตั้งใจ เช่น เดินไปชนผู้อื่น หยิบของข้ามตัวหรือศีรษะผู้อื่น เป็นต้น

สำหรับคนไทย เมื่อเอ่ยคำว่า “ ขอบคุณ ” หรือ “ ขอโทษ ” ต่อผู้ที่อาวุโสกว่า เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้ใหญ่ มักจะยกมือไหว้พร้อมกันไปด้วย เช่น กล่าวขอบคุณพร้อมยกมือไหว้พ่อแม่ที่ท่านซื้อของให้ เป็นต้น

- ในการรับประทานอาหารไม่ว่าจะในหรือนอกบ้าน ไม่ ควรล้วงแคะ แกะเกาในโต๊ะอาหาร หากจะใช้ไม้จิ้มฟัน ควรใช้มือป้องไว้ ควรใช้ช้อนกลางตักอาหารจากจานรวม และแบ่งอาหารใส่จานของตนพอประมาณ ไม่มากจนรับประทานไม่หมด ถ้าไอหรือจาม ควรใช้มือหรือผ้าป้องปาก หากต้องคายอาหารก็ควรใช้มือป้องปาก และใช้กระดาษเช็ดปากรองรับ แล้วพับให้มิดชิด และไม่ควรเคี้ยวอาหารเสียงดัง และไม่ควรสูบบุหรี่จนรบกวนผู้อื่น

- การรับประทานอาหารแบบสากล เมื่อเข้าที่นั่งแล้ว ให้คลี่ผ้าเช็ดมือวางบนตัก ไม่ควรเริ่มรับประทานอาหารก่อนแขกผู้ใหญ่หรือเจ้าภาพ ใช้เครื่องใช้ในการรับประทานเฉพาะที่จัดไว้ให้เฉพาะคน ใช้ช้อนกลางตักอาหารจานกลาง ห้ามใชัช้อนของตนตักจากจานกลาง ถ้าต้องการสิ่งที่ไกลตัว อย่าโน้มหรือเอื้อมมือไปหยิบข้ามเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารของผู้อื่น หรืออย่าข้ามหน้าคนอื่นไป หากจำเป็นควรขอให้บริกรหยิบให้ การหยิบเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารให้หยิบจากด้านนอกเข้ามาก่อนเสมอ โดยจับส้อมมือซ้าย และมีดมือขวา ถ้าไม่มีมีด ใช้ส้อมอย่างเดียวให้ถือส้อมด้วยมือขวา จานขนมปังจะอยู่ทางซ้ายให้ใช้มือซ้ายช่วยบิรับประทานทีละคำ อย่าบิไว้หลายชิ้นและอย่าใช้มีดหั่นขนมปัง อย่าทาเนยหรือแยมบน


ขนมปังทั้งแผ่นหรือทั้งก้อนแล้วกัดกิน การกินซุปให้หงายช้อนตักออกจากตัวและรับประทานจากข้างช้อน อย่ากินปลายช้อน อย่าซดเสียงดัง ถ้าจะตะแคงถ้วยให้ตะแคงหงายออกจากตัว อาหารเนื้อสัตว์ ให้ตัดแต่พอคำและกินโดยใช้ส้อมช่วย น้ำดื่มให้วางทางขวามือเสมอ ก่อนลุกจากเก้าอี้ให้ทบผ้าเช็ดปากวางไว้บนโต๊ะ

- ในการไปชมมหรสพ เช่น คอนเสิร์ต หนังหรือละคร ควรเข้าแถวซื้อตั๋วตามลำดับก่อน-หลัง ไม่แทรกหรือตัดแถวผู้อื่น หรือฝากเงินคนที่อยู่ข้างหน้าโดยที่ตัวเองไม่ได้ยืนเข้าแถว เว้นแต่ผู้นั้นสนิทสนมกันและมีเหตุจำเป็นทำให้ไม่ยืนเข้าแถวไม่ได้ ไม่ควรพาเด็กเล็กเกินไปชมการแสดง เพราะจะส่งรบกวนและทำความรำคาญให้ผู้อื่น ไม่ควรลุกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็น อย่าส่งเสียงสนทนากันดังๆ หรือวิพากษ์วิจารณ์การแสดง หรือแสดงอาการสนุกสนาน เป่าปาก ตบมือจนเกินกว่าเหตุ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพ หญิงชายไม่ควรเกี้ยวพาราสี หรือกอดจับต้องกันเมื่ออยู่ในโรงมหรสพ เมื่อไอ จาม หรือถ่มน้ำลาย ต้องทำด้วยกิริยาปกปิด มิให้เกิดเสียงดังรบกวนคนอื่น

- ในการเดินกับผู้ใหญ่ ถ้าเดินนำ ให้เดินห่างพอสมควร อยู่ด้านใดก็แล้วแต่สถานที่อำนวย แต่โดยปกติจะเดินอยู่ทางด้านซ้ายของผู้ใหญ่ หากเดินตาม ให้เดินเยื้องไปทางซ้ายของผู้ใหญ่เช่นกัน และเดินด้วยความสำรวมไม่ว่าเดินนำหรือตาม

- การแนะนำบุคคลให้รู้จักกัน มีหลักทั่วๆไปว่า แนะนำผู้อาวุโสน้อยต่อผู้อาวุโสมาก พาชายไปแนะนำให้รู้จักผู้หญิง ยกเว้นชายนั้นจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือมีตำแหน่งระดับสูง พาหญิงโสดไปรู้จักหญิงที่แต่งงานแล้ว แนะนำผู้มาทีหลังต่อผู้มาก่อน ถ้าเสมอกันก็ให้แนะนำตามความเหมาะสม

- การสวดมนต์ ฟังพระสวด ฟังเทศน์ฟังธรรม หรือขณะพูดกับพระสงฆ์ ให้ แสดงความเคารพด้วย การประนมมือ ที่เรียกว่า อัญชลี คือประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กางศอก ทั้งหญิงชายปฏิบัติเหมือนกัน

- การไหว้ (วันทา) จะมี ๓ ระดับ คือ ถ้าไหว้พระ เช่น พระรัตนตรัย ปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานให้แสดงความเคารพโดยประนมมือให้นิ้วหัวแม่มือจรด ระหว่างคิ้ว ถ้าไหว้ผู้มีพระคุณหรือผู้อาวุโส ที่เคารพนับถือ เช่น พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ครูอาจารย์ ประนมมือให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ถ้าไหว้บุคคลทั่วไป ให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง ถ้า กราบ(อภิวาท) พระพุทธรูปหรือพระสงฆ์ ต้องกราบ ๓ ครั้งแบมือ หากกราบคนไม่ว่าจะเป็นคนเป็น หรือคนตาย กราบ ๑ ครั้ง ไม่แบมือ

- การจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ให้ประธานในพิธี (จะยืนหรือคุกเข่าแล้วแต่สถานที่) จุดเทียนเล่มซ้ายมือ (ของประธาน)ก่อน แล้วค่อยจุดเล่มขวา จากนั้นจึงจุดธูป แล้วกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หากมีพระบรมฉายาลักษณ์และธงชาติด้วย เมื่อกราบแล้ว ถอยออกมาแล้วทำความเคารพด้วยการคำนับเพียงครั้งเดียว ส่วนคนอื่นๆในที่นั้น เมื่อประธานลุกไปประกอบพิธี ให้ยืนขึ้น และเมื่อจุดเทียนเล่มแรก ให้ทุกคนประนมมือจนเสร็จพิธี เมื่อประธานกลับลงมานั่ง จึงนั่งตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงบางส่วนของมารยาททางสังคมอันเป็นหลักประพฤติปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางให้ท่านได้นำไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่างๆต่อไปตาม สมควร







ขอคุณข้อมูลจาก 

อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรร

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปแบบการเขียนอ้างอิง

รูปแบบการเขียนอ้างอิง

           การอ้างอิง     หมายถึง  การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ

1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ
     1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date)
            ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
                    (ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง)
     1.2  ระบบหมายเลข (Number System)  เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร
             อ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ
             1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
             1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง

          บรรณานุกรม (Bibliography)  หมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่

ลำดับ ประเภทบรรณานุกรม
1. ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
2. ตัวอย่าง บรรณานุกรมภาษาอังกฤษ
3. ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
4. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
5. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
6. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
7. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
8. ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
9. ตัวอย่าง บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์


1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย                 

                  แบบ ก               
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
                   / / / / / / /ปีที่พิมพ์. 
                  แบบ ข
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ 
                   / / / / / / / ในการพิมพ์.

      ตัวอย่าง
                  แบบ ก 
                  กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์,
                                2544.
                  แบบ ข 
                  กิติกร  มีทรัพย์.  (2544).  จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : 
                             ธุรกิจการพิมพ์.
            
2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
                  แบบ ก
                  ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ
                  / / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข 
                  ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์.
                  / / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.

       ตัวอย่าง 
                  แบบ ก  
                  Hartley, Eric Key.  Childhood and society.  2 nd ed. New York : Mc Graw -
                               Hill, 1989. 
                  แบบ ข 
                  Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill.


3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ 
                  แบบ ก 
                  ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, / 
                   / / / / / / / ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข 
                  ชื่อผู้เขีัยน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระัดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ / 
                   / / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย.

       ตัวอย่าง 
                  แบบ ก 
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                                 นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
                                 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
                                  
                  แบบ ข 
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  (2540).  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                               นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,  สาขาวิชา
                               การบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
                              
4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ  
                  แบบ ก  
                  ชื่อผู้เขียน./ / "ชื่อตอนหรือบทความ" / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ
                   / / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข 
                  ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / /
                   / / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
     ตัวอย่าง 
                  แบบ ก 
                  สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ.  "การประเมินผลการพยาบาล"  ใน 
                                  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15. 
                                  หน้า 749 - 781.  มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
                
                  แบบ ข 
                  สมจิต  หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ. (2536).  การประเมินผลการพยาบาลใน 
                                 ใน มยุรา  กาญจนางกูร (บรรณาธิการ).  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ
                                  กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8 - 15.  (หน้า 749- 781). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
                แบบ ก 
                ชื่อผู้เขียน. / / "ชื่อบทความ" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; /
                / / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
               แบบ ข 
               ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), / 
               / / / / / / /เลขหน้า.
    ตัวอย่าง 
               แบบ ก  
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  "การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม
                              แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ"  กรมวิทยาศาสตร์การ 
                              แพทย์.  46(3) : 142 - 153 : กรกฎาคม - กันยายน 2547.
               แบบ ข 
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  (2547,กรกฏาคม - กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยา-
                              ศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณ
                              ภาพ.  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3), 142 - 153.

6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
                แบบ ก 
                ชื่อผู้เขียน. / /"ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / : 
                / / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
                แบบ ข  
                ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ
                / / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

     ตัวอย่าง  
               แบบ ก  
               วิทยา  นาควัชระ.  "คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว" สกุลไทย.  40(2047) : 
                           191 - 192 ; 26 ตุลาคม 2544.
               แบบ ข 
               วิทยา  นาควัชระ.  (2544, 26 ตุลาคม).  คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว. 
                            สกุลไทย. 40(2047), 191 - 192.

7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ 
               แบบ ก  
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / / "ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/
               / / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
               แบบ ข 
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ
               / / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า
      ตัวอย่าง 
               แบบ ก 
               นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  "เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู" ไทยรัฐ.  5 มิถุนาน 2546.
                            หน้า 2. 
                แบบ ข  
                นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  (2546, 5 มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู. ไทยรัฐ,
                             หน้า 2. 
8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ 
                แบบ ก  
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
                 / / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ.
               แบบ ข 
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / 
                 / / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ.
     ตัวอย่าง 
                แบบ ก  
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย.  ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก. 
                               [เทปโทรทัศน์].   ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
                แบบ ข  
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (2537). ประเด็นปัญหาการวิจัยางการพยาบาลคลินิก.
                              [เทปโทรทัศน์].  ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

     9.1 ฐานข้อมูล ซีดี - รอม

                 แบบ ก  
                 ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / 
                  / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
                 แบบ ข  
                 ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / /
                 / / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ.
      ตัวอย่า
                แบบ ก 
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. 
                              [ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
                              เชียงใหม่, 2545.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.
                แบบ ข 
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  (2545).  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
                              [ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  สาขาวิชาการบริหารการ
                              พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล
                              วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ 3, 2547.
9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ 
                 แบบ ก 
                 ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / 
                                เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
                 แบบ ข  
                 ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด
                                ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / / 
                                (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).
       ตัวอย่าง 
                  แบบ ก 
                  พิมลพรรณ  พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http : 
                                  / / www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
                   เรวัติ  ยศสุข.  "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย."  ฉลาดซื้อ.  [ออนไลน์]. 6(6) ; 
                               กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546.  เข้าถึงได้จาก : http : / /                                                     www.kalathai.com/think/view_hot. ?article_id
                               = 16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547)
                   แบบ ข  
                   พิมลพรรณ   พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http : / / 
                                 / / www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
                   เรวัติ  ยศสุข.  (2546,กุมภาพันธ์ - มีนาคม).  "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย."  ฉลาดซื้อ. 
                                 [ออนไลน์]. 6(6) เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com/think/view_hot. 
                                 ? article_id = 16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547).




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic=178.0

รูปแบบการเขียนรายงาน

รูปแบบการเขียนรายงาน

ส่วนประกอบรายงาน
1.             ปกนอก
2.             ปกรอง (กระดาษเปล่าสีขาว)
3.             ปกใน (เหมือนปกนอกทุกประการแต่ใช้กระดาษขาว)
4.             คำนำ
5.             สารบัญ
6.             เนื้อหา
7.             บรรณานุกรม หรือแหล่งอ้างอิง
8.             ภาคผนวก  (ในที่นี้ให้รอคำสั่งจากครูว่าจะให้ใส่อะไรในภาคผนวก)
9.             ปกรองหลัง (กระดาษเปล่าสีขาว)
10.          ปกหลัง   

การจัดระยะขอบ หรือจัดกั้นหน้า - กั้นหลัง
กั้นหน้า             ระยะขอบเท่ากับ                  3.17 cm 
กั้นหลัง              ระยะขอบเท่ากับ                  2.5 cm
ขอบบน             ระยะขอบเท่ากับ                  2.5 cm  หรือ 3.00 cm
ขอบล่าง             ระยะขอบเท่ากับ                 2.5 cm  หรือ 2.00 cm

รูปแบบของปก
ปกจะประกอบด้วยข้อความ  ส่วนคือ
ส่วนที่  1  คือชื่อเรื่องรายงาน 
ส่วนที่  2  คือชื่อผู้จัดทำรายงาน
ส่วนที่  3  คือเสนอใคร
ส่วนที่  4  คือบอกถึงรายงานฉบับนี้เป็นของวิชาอะไร ภาคเรียนและปีการศึกษาใด โรงเรียนอะไร  

ข้อความทั้ง 4  ส่วน ให้มีการเว้นระยะห่างของแต่ละส่วนให้เท่า ๆ กัน
ข้อความส่วนที่ 1  อาจมีขนาดอักษรที่ใหญ่กว่าข้อความส่วนอื่น ๆ ก็ได้
ข้อความในส่วนที่ 2 – 3  ควรใช้ขนาดอักษรที่เท่ากัน
สำหรับข้อความในส่วนที่ 4  ขนาดอักษรอาจมีขนาดเท่ากับส่วนที่ 2 และ 3  หรืออาจจำเป็นต้องมีขนาดอักษรที่เล็กกว่าส่วน 2 – 3  เล็กน้อย

ตัวอย่างปกรายงาน


ข้อความที่อยู่ในเล่มรายงาน

1. คำนำ   มีรูปแบบดังนี้



 คำนำ  กล่าวถึงความสำคัญ วัตถุประสงค์ ความเป็นมา  ประเด็นหัวข้อเนื้อหาในรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากติดตามเรื่อง ซึ่งอาจเป็นปัญหา ประโยชน์หรือผลกระทบอย่างไรต่อผู้อ่านและสังคม  อาจกล่าวขอบคุณหรือบอกแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ  สุดท้ายระบุชื่อ-สกุล ผู้เขียนรายงานและวันเดือนปีในการทำรายงาน  ดังตัวอย่าง

2. สารบัญ มีรูปแบบดังนี้




 สารบัญ ระบุหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง (ถ้ามี)และเลขหน้าใช้จุดไข่ปลาลากโยงจากหัวข้อไปยังเลขหน้าให้ชัดเจน การพิมพ์สารบัญต้องจัดย่อหน้าและเลขหน้าให้ตรงกัน ดังตัวอย่าง

1.              เนื้อหา ของเรื่องรายงาน  มีข้อกำหนดดังนี้
-                   ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง (มักจะอยู่ที่หน้าแรกของเนื้อหารายงาน) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
-                   ข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย  ใช้ ชิดซ้าย เหมือนกันทั้งฉบับ
-                   ข้อความที่เป็นเนื้อหา หรือเนื้อเรื่องใช้ เหมือนกันทั้งฉบับ
-                   รูปแบบอักษรให้ใช้แบบเดียวกันทั้งฉบับ 
-                   สีอักษร  โดยทั่วไปและแบบเป็นทางการจะใช้สีดำ
-                   เนื้อหาในบางส่วนจำเป็นต้องมีรูปภาพมาประกอบเพื่อจะได้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งจะต้องใช้รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายงาน
-                   ข้อความเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ให้ขึ้นต้นบรรทัดใหม่และมีการย่อหน้า
-                   ในส่วนของการย่อหน้าให้ย่อหน้าเท่ากันทั้งฉบับ
-                   ข้อความเนื้อหาที่เป็นการจัดเรียงลำดับเลขข้อ หรือเลขข้อย่อยก็ควรใช้ในรูปแบบที่เหมือนกันและจัดย่อหน้าให้เท่ากัน ย่อหน้าเป็นระดับชั้นที่ถูกต้องด้วย
-                   ห้ส่เลขหน้ในรายงานด้วยเพื่อจัดทำสารบัญ  โดยจัดวาง และใช้รูปแบบเดียวกันทั้งฉบับ

ตัวอย่างเนื้อหารายงาน




ข้อสังเกตที่ตรวจพบ

 (ข้อความที่สำคัญต้องมีการขีดเส้นใต้สีข้อความต่างจากข้อความอื่นๆ)
นักศึกษาต้องอ่านตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ของข้อความในแต่ละวรรคตอน ตรวจสอบคำถูกคำผิด ฉะนั้นขอให้นักศึกษาได้ตรวจสอบให้ดีและรอบคอบก่อนส่งครูทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตามนักเรียนควรจัดทำรายงานให้เป็นมาตรฐานหรือมีรูปแบบที่เป็นสากล เพื่อแสดงให้เห็นถึงภูมิความรู้ที่นักศึกษามีอยู่
ขอให้นักเรียนโชคดี และหวังว่านักเรียนจะนำข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในโอกาสต่อ ๆ ไปได้

                                                                                                 อ. วิมล อินทร์จันทร์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
            www.ksnwattana.nlern.com/library/userfiles/port%205222.doc