ดร. ซุน ยัดเซ็น บิดาแห่งจีน
ซุน ยัตเซ็น(12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866-12 มีนาคม ค.ศ.1925)เป็นนักปฏิวัติและประธานาธิบดีจีน ซุนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "บิดาของชาติ" ในสาธารณรัฐจีน และ
"ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ริเริ่มจีนชาตินิยมคนสำคัญ ซุนมีบทบาทสำคัญในการล้มราชวงศ์ชิงระหว่างการปฏิวัติซินไฮ่ ซุนเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลคนแรกเมื่อสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ.1912 และภายหลังร่วม ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ซุนเป็นบุคคลผู้สร้างความสามัคคีในจีนหลังยุคจักรวรรดิ และยังคงเป็นนักการเมืองจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางจากประชาชนทั้งสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน
"ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ริเริ่มจีนชาตินิยมคนสำคัญ ซุนมีบทบาทสำคัญในการล้มราชวงศ์ชิงระหว่างการปฏิวัติซินไฮ่ ซุนเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลคนแรกเมื่อสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ.1912 และภายหลังร่วม ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ซุนเป็นบุคคลผู้สร้างความสามัคคีในจีนหลังยุคจักรวรรดิ และยังคงเป็นนักการเมืองจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางจากประชาชนทั้งสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน
ชื่อเกิดของท่านมีว่า ซุน เหวิน และชื่อทางการของเขาคือ ซุน เต๋อหมิงต่อมาเรียกว่า ซุน อี้เซียน ซึ่งออกเสียงเป็น ซุน ยัดเซ็น ในภาษาจีนกวางตุ้ง มีความหมายว่า เทพเจ้าอิสระ โดยชื่อ ซุน ยัตเซ็น นั้นท่านได้เริ่มใช้เมื่อมีอายุ 33 ปี ส่วนภาษาจีนกลางเรียกเขาว่า ซุน จงซาน นอกจากนี้เขาก็ใช้นามแฝงในวรรณกรรมว่า รื่ซิน อีกด้วย
วัยเด็ก และการศึกษา
ซุน ยัตเซ็น เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 ที่อำเภอจงซาน ในครอบครัวชาวนาที่ยากจน ซุนมีลักษณะนิสัยเหมือนกับมารดา คือเป็นคนที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยชอบพูดจา เป็นคนฉลาดมาตั้งแต่เด็ก ชอบซื้อหนังสือ อ่านหนังสือเป็นพิเศษ โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ ปรัชญา แล้วยังชอบที่จะอ่านแผนที่อีกด้วย ตั้งแต่ตัวท่านไม่ค่อยพูดเกี่ยวกับความสนใจเท่าใดนัก และไม่ชอบฟังเพลง ทางด้านการทานอาหาร ท่านชอบทานผักเนื้อปลา ไม่ชอบทานเปรี้ยวและเผ็ด ผลไม้ที่ท่านชอบที่สุดคือส้มและสับปะรด
พอซุนอายุ 7ปีท่านก็ได้เรียนหนังสือ ต่อมาก็ได้มีบาทหลวงมาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ท่านจึงได้คลุกคลีกับบาทหลวงเพื่อขอดูแผนที่และเกิดความสนใจในประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ต่อมาท่านก็ได้เดินทางไปเรียนที่ฮาวาย และอยู่ทำงานกับพี่ชายของท่านที่นั่น ทำให้ซุนเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนศาสนาขึ้นมา และเมื่อท่านกลับมาจีน ท่านก็เห็นว่าความเชื่อโบราณของจีนเป็นเรื่องงมงาย ถึงขั้นทำลายเทวรูปในหมู่บ้าน หลังจากนั้นท่านก็ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่ฮ่องกงและท่านก็ได้เรียนจบจากวิทยาลัยแพทย์ฮ่องกงด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
การงาน และการต่อต้านราชวงศ์ชิง
ซุนได้เป็นแพทย์ที่มาเก๊าและกวางโจว บางครั้งท่านก็รักษาคนไข้ฟรีด้วย แต่ทว่าท่านคิดว่าไม่ใช่เพียงร่างกายคนเท่านั้นที่ต้องการการรักษา แต่เรายังต้องรักษาความคิดและจิตใจของคนอีกด้วย ซึ่งประเทศจีนตอนนั้นก็เปรียบเสมือนคนป่วยคนหนึ่ง ดังนั้นท่านจึงพยายามที่จะรักษาประเทศของท่านเองด้วยวัยเพียง 18 ปี ท่านได้เขียนจดหมายถึงรัฐบาลจีน เพื่อขอร้องให้พวกท่านทำการปฏิรูป แต่รัฐบาลชิงไม่สนใจความคิดและความปรารถนาของท่าน ดังนั้นในปีเดียวกันท่านและสหายของท่านได้ก่อตั้งองค์การจัดตั้งการปฏิรูปขึ้นมา และตั้งแต่นั้นมาซุนยัตเซ็นก็ได้เริ่มชีวิตที่เปลี่ยนไป ท่านได้ทำการต่อสู้กับรัฐบาลชิง โดยหวังว่าประเทศจีนจะสามารถกลายเป็นประเทศที่เป็นอิสระ เสมอภาค และมั่นคง
นับแต่ปี ค.ศ.1907 ถงเหมิงฮุ่ย ทำการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิวัติในพื้นที่ภาคใต้ของจีนสิบกว่าครั้ง ก่อนจะสำเร็จที่สุดในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ.1911 ที่ อู่ชาง มณฑลหูเป่ย
การปฏิวัติครั้งประวัติศาสตร์ เริ่มกระทำการอย่างเร่งด่วนในคืนวันที่ 10 ตุลาคม โดย ทหารสมาชิกพรรคปฏิวัติในกองทัพใหม่ที่ประจำการอยู่ภายในเมืองอู่ชางซึ่งนำโดยผู้บังคับการที่ชื่อว่า หลีหยวนหง แต่ปราศจากผู้นำของ 'ถงเหมิงฮุ่ย' คอยสั่งการแม้แต่คนเดียว เนื่องจากแผนปฏิวัติรั่วไหลไปเข้าหูทางการเข้า
เหตุการณ์ในครั้งนั้นเรียกกันว่า การก่อการอู่ชาง หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า สองสิบ เนื่องจากเกิดขึ้นในวันที่ 10 เดือน 10 (ปัจจุบันชาวไต้หวันยังถือเอาวันนี้เป็นวันชาติอยู่ ขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติ) ส่วนชื่อทางการของการปฏิวัตินั้นเรียกว่า การปฏิวัติซินไฮ่ เนื่องจากตามปฏิทินจันทรคตินั้นเป็น ปี ค.ศ.1911 ชาวจีนเรียกว่าปีซินไฮ่
ประกายไฟแห่งความสำเร็จของการก่อการที่อู่ชาง ปลุกให้เกิดการปฏิวัติทั่วประเทศจีน โดยในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1911 มีถึง 14 มณฑล จากทั้งหมด 24 มณฑลของจีนที่ประกาศปลดปล่อยตัวเองออกจากการปกครองของรัฐบาลชิงที่ปักกิ่ง
การปฏิวัติซินไฮ่นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สองพันปีที่จีนหลุดพ้นออกจากระบอบการปกครองของกษัตริย์ และ ก้าวเท้าเข้าสู่เส้นทางของการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยในวันคริสต์มาสของปี ค.ศ.1911 ดร.ซุน ก็กลับมาถึงเซี่ยงไฮ้จากต่างประเทศ และจากมติของตัวแทนสมาชิกที่ร่วมปฏิวัติจากทั่วประเทศจีนก็เลือกเอา ดร.ซุนยัดเซ็นเป็น ประธานาธิบดีชั่วคราวของ สาธารณรัฐจีน โดยถือเอาวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1912 เป็นปีแรกของสาธารณรัฐ และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นที่ เมืองหนานจิง
ทั้งนี้เมื่อการปฏิวัติสำเร็จ ดร.ซุน ได้กล่าวไว้ประโยคหนึ่งว่า "ผู้ใดที่กล้าขุดระบอบกษัตริย์ขึ้นมา (ในจีน) คนทั่วแผ่นดินจะร่วมกันลุกขึ้นคัดค้าน"
แม้ซุนถูกมองว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีนสมัยใหม่ ชีวิตการเมืองของเขากลับต้องต่อสู้ไม่หยุดหย่อนและต้องลี้ภัยบ่อยครั้ง หลังประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ เขากลับสูญเสียอำนาจอย่างรวดเร็วในสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น และนำรัฐบาลปฏิวัติสืบต่อมาเป็นการท้าทายขุนศึกที่ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ซุนมิได้มีชีวิตอยู่เห็นพรรคของเขารวบรวมอำนาจเหนือประเทศระหว่างการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition) พรรคของเขา ซึ่งสร้างพันธมิตรอันละเอียดอ่อนกับพวกคอมมิวนิสต์ แตกเป็นสองฝ่ายหลังเขาเสียชีวิต
มรดกสำคัญของซุนอยู่ในการพัฒนาปรัญาการเมืองของเขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ หลัก 3 ประการแห่งประชาชน อันได้แก่ ชาตินิยม ประชาธิปไตย และความเป็นอยู่ของประชาชน
"ถ้าเราเชื่อมั่นว่าเราทำได้ ต่อให้ต้องยกภูเขาถมทะเลในที่สุดก็ทำสำเสร็จจนได้ แต่ถ้าใจเราคิดว่าทำไม่ได้ แม้จะง่ายแค่พลิกฝ่ามือ ก็ยังไม่มีวันทำสำเสร็จ" |
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี